หน่วยที่ 3

มาตรฐานการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย

แบบจำลอง OSI Model

การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นระบบเครือข่ายในยุคแรกจะมีลักษณะเฉพาะตัวตามบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายนั้น ๆ ทำให้เกิดปัญหาความเข้ากันได้ของอุปกรณ์ที่ผลิตจากต่างบริษัทกัน ดังนั้นหน่วยงานมาตรฐานสากล (International Standard Organization) หรือ ISO จึงได้กำหนดโครงสร้างมาตรฐานในการรับ – ส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้เป็นแบบเดียวกันเพื่อให้ใช้งานร่วมกันได้ เรียกว่า แบบจำลอง OSI Model (Open System Interconnection Model) เพื่อใช้เป็นแบบอ้างอิงในการผลิต ทำให้อุปกรณ์เครือข่ายต่างบริษัทกันสามารถใช้งานร่วมกันได้โดยไม่มีปัญหา แบบจำลอง OSI Model จะแบ่งการเชื่อมต่อในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ออกเป็นชั้นย่อย ๆ จำนวน ชั้น

ลักษณะการเชื่อมต่อคือ แต่ละชั้นหรือแต่ละเลเยอร์ (Layer) จะเสมือนเชื่อมต่อถึงกันและกันแต่ในส่วนของการเชื่อมต่อจริงทางกายภาพจะมีเพียงชั้นล่างสุดคือ Physical Layer เท่านั้นที่เชื่อมต่อถึงกัน ส่วนชั้นอื่น ๆ จะไม่ได้เชื่อมต่อถึงกันจริง เพียงแต่เสมือนว่าเชื่อมต่อกันโดยผ่านกลไกในระบบเครือข่ายเท่านั้น

ตามแนวทางของแบบจำลอง OSI Model จะกำหนดให้การติดต่อระหว่างกันจะต้องติดต่อภายในชั้นเดียวกันเท่านั้น จะติดต่อข้ามชั้นกันไม่ได้ เช่น ชั้นที่ ทางฝั่งผู้ส่งก็จะต้องเชื่อมต่อกับชั้นที่ ของฝั่งผู้รับเท่านั้น ส่วนผู้ใช้งานจะต้องติดต่อผ่านทางชั้นที่ คือ Application layer ซึ่งเป็นชั้นบนสุด ในทางปฏิบัติ ชั้น ด้านบนคือ Application layer, Presentation Layer, Session Layer และ Transport Layer จะจัดเป็นการเชื่อมต่อข้อมูลในส่วนซอฟต์แวร์ (Application Dependent Layer) ส่วน ชั้น ด้านล่างคือ Network Layer, Data Link และ Physical Layer จะเป็นส่วนควบคุมการรับ – ส่งข้อมูล โดยทำการติดต่อกับฮาร์ดแวร์โดยตรง คือ เป็นส่วนของการเชื่อมต่อทางเครือข่าย (Network Dependent Layer)หน้าที่ของแต่ละชั้น จะเป็นดังนี้

1.1 Application Layer

              ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างผู้ใช้งานกับโปรแกรมใช้งาน โดยจะแบ่งคำสั่งต่าง ๆ ที่ผู้ใช้กำหนดผ่านทางเมนู หรือการคลิกเมาส์ ส่งให้โปรแกรมใช้งาน ซึ่งโปรแกรมใช้งานจะไปเรียกฟังก์ชั่นที่ให้บริการจากระบบปฏิบัติการอีกต่อหนึ่ง ดังนั้น คำสั่งหรือข้อมูลที่ผู้ใช้ส่งมาให้จะต้องถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของระบบปฏิบัติการนั้น ๆ หากมีข้อผิดพลาดฟังก์ชันที่เรียกใช้งานก็จะแจ้งกลับมายังโปรแกรม และโปรแกรมใช้งานก็จะแสดงข้อความการผิดพลาดให้กับผู้ใช้อีกต่อหนึ่ง ลักษณะการทำงานส่วนใหญ่ในชั้นนี้ ได้แก่ การระบุตำแหน่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง การกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล ตัวอย่างเช่น การเข้าใช้งานระบบ E-Mail การถ่ายโอนไฟล์ในเครือข่าย

1.2 Presentation Layer

              เป็นชั้นที่ทำหน้าที่เป็นส่วนติดต่อระหว่างชั้น Application และ Session ให้เข้าใจกัน โดยจะเป็นการสร้างขบวนการย่อย ๆ ในการทำงานระหว่างกัน และจัดรูปแบบการนำเสนอข้อมูลในการสื่อสารให้เข้าใจกันได้ เช่น การแปลงรหัสข้อมูล การเข้ารหัส (Encrypt) และการถอดรหัส (Decrypt)

1.3 Session Layer

              เป็นชั้นที่ทำหน้าที่สร้างส่วนติดต่อ (Session) ในการสื่อสารข้อมูล โดยกำหนดจังหวะในการรับ – ส่งข้อมูลว่าจะทำงานในแบบผลัดกันส่ง (Half Duplex) หรือส่งรับพร้อมกัน (Full Duplex) โดยจะสร้างเป็นส่วนของชุดข้อมูลโต้ตอบกัน

 1.4 Transport Layer

               ทำหน้าที่แบ่งข้อมูลที่มีขนาดใหญ่เกินมาตรฐานการรับ – ส่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ ให้เหมาะสมกับการทำงานทางฮาร์ดแวร์ของอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายตามมาตรฐานที่ใช้งาน

1.5 Network Layer

               ทำหน้าที่เชื่อมต่อและกำหนดเส้นทางในการรับ – ส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย โดยจะนำข้อมูลในชั้นบนที่ส่งมาในรูปของ Package หรือ Frame ซึ่งมีเพียงแอดเดรสของผู้รับ – ผู้ส่ง ลำดับการ                   รับ – ส่งข้อมูล และส่วนของข้อมูล นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการสถาปนาการเชื่อมต่อในครั้งแรก (Call Setup) และการยกเลิกการติดต่อ (Call Clearing)

1.6 Data Link Layer

                ทำหน้าที่ในการจัดเตรียมข้อมูลในการเชื่อมต่อให้กับอุปกรณ์ทางฮาร์ดแวร์ โดยหลังจากที่ได้รับข้อมูลจากชั้น Network Layer ที่กำหนดเส้นทางในการติดต่อ และทำการตรวจสอบข้อผิดพลาดในการรับ – ส่งข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่รับ – ส่งกันตรงกับมาตรฐานการรับ – ส่งข้อมูลในระดับฮาร์ดแวร์ เช่น มาตรฐานอีเทอร์เน็ต (Ethernet) มาตรฐานโทเค็นริง (Token Ring) เป็นต้น

1.7 Physical Layer

                เป็นชั้นล่างสุดของแบบจำลอง OSI Model และเป็นชั้นที่มีการเชื่อมต่อจริงทางกายภาพ ในชั้นนี้จะเป็นส่วนที่ใช้กำหนดคุณสมบัติทางกายภาพของอุปกรณ์ที่จะนำมาเชื่อมต่อกัน เช่น จะใช้ขั้วต่อสัญญาณแบบใด ใช้การรับ – ส่งข้อมูลแบบใด ความเร็วในการรับ – ส่งข้อมูลที่จะใช้เป็นเท่าใด ข้อมูลในชั้นนี้จะอยู่ในรูปของสัญญาณทางไฟฟ้าแบบดิจิตอล คือมีระดับสัญญาณ หรือ หากมีปัญหาในการรับ – ส่งทางฮาร์ดแวร์ เช่น สายรับ – ส่งข้อมูลขาดหรืออุปกรณ์ในเครือข่ายชำรุดเสียหายก็จะทำการตรวจสอบและส่งข้อมูลความผิดพลาดไปให้ชั้นอื่น ๆ ที่อยู่เหนือขึ้นไปได้รับทราบ

 

 

 

 

 

hit counter